ผู้สมัครงาน
หลายคนเพิ่งจะไปร่วมงาน Bangkok Car Free Day 2015 กันไปหมาดๆ เมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2558 ที่ผ่านมา ทั้งในต่างจังหวัดเอง ก็ทยอยจัดงานนี้ขึ้นในหลายพื้นที่เช่นกัน แต่รู้หรือเปล่า? ว่า Car Free Day เขาจัดกันทั่วโลกเลยนะ
แม้ว่าบ้านเราจะจัดงานในวันที่ 20 ก.ย. แต่จริงๆ แล้ว World Car Free Day ตรงกับ วันที่ 22 ก.ย. ของทุกปี เป็นวันที่ทั่วโลกร่วมใจกันลดการใช้น้ำมัน ลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล แล้วหันมาเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้รถสาธารณะทดแทน
ไทยรัฐออนไลน์ ขอพาย้อนไปดูต้นกำเนิดกันสักนิด มีข้อมูลจากหลายแหล่งระบุว่า จากปัญหาวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 ทำให้นักอนุรักษ์ทั่วโลกเริ่มหวั่นเกรงว่า ทรัพยากรธรรมชาติสำคัญอย่าง "น้ำมัน" ซึ่งเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลก กำลังจะหมดไปจากโลก
จากความวิตกกังวลดังกล่าว จึงนำมาซึ่งการจัดงาน วันปลอดรถ หรือ คาร์ฟรีเดย์ (Car Free Day) โดยได้มีความร่วมมือจากนานาประเทศทั่วโลก จัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 22 ก.ย. 2537 มีประชาชนใน 848 เมือง จาก 25 ประเทศทั่วโลกได้ออกมาร่วมกันรณรงค์ และในปี 2548 มีการจัดรณรงค์ชื่อ In town without my car! พร้อมกันใน 1,500 เมืองทั่วโลก โดยมีผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 ล้านคน
หันมาเดินแทนการใช้รถกันเถอะ
ในประเทศไทย ได้เริ่มรณรงค์กิจกรรม วันคาร์ฟรีเดย์ Car Free Day มาตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา และได้จัดกิจกรรมรณรงค์เรื่อยมาจนถึงปี 2558 นี้ ประเทศไทยจัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 15 แล้ว
และรู้หรือไม่? ในวันที่ 21-22 ก.ย. 2543 ซึ่งเป็นปีแรกที่ไทยเริ่มจัดงาน นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ร่วมรณรงค์ด้วยการขี่รถจักรยานจากบ้านพิษณุโลกไปยังทำเนียบรัฐบาลด้วย
และในวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมา ในกรุงเทพฯ มีประชาชนเข้าร่วมงาน Bangkok Car Free Day 2015 กันอย่างคับคั่งกว่า 30,000 คน ส่วนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็มีความพยายามที่จะลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ผ่านกิจกรรม Car Free Day เช่นกัน พวกเขาจัดอย่างไร และได้ผลแค่ไหน ไปดูกัน
จอดรถไว้ แล้วไปปั่นกัน!
1. โบโกตา, โคลัมเบีย
โบโกตาได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ว่า เป็นเมืองที่จัดกิจกรรม คาร์ ฟรี วีคเดย์ (รณรงค์ไม่ใช้รถทั้งสัปดาห์) ได้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถดึงดูดให้ประชาชนเข้าร่วมงานกันได้ทั้งเมือง และในปี 2000 โบโกตายังถูกบันทึกอีกว่า เป็นเมืองที่จัดกิจกรรมนี้ในระดับใหญ่ครั้งแรกของโลก และสามารถสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการลดใช้พลังงาน ไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
2. บูดาเปสต์, ฮังการี
เมืองบูดาเปสต์เข้าร่วมกิจกรรม World Car Free Day ครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2548 ซึ่งจัดโดย องค์กร World Car Free Network และองค์กร Clean Air Action Group ซึ่งกิจกรรมนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ด้วยการได้รับความร่วมมือที่ดีจากพาร์ตเนอร์ที่เคลื่อนไหวเรื่องการอนุรักษ์พลังงานในฮังการีอย่าง กลุ่มจราจรฮังกาเรียนและกลุ่มยังกรีนฮังกาเรียน (Hungarian Young Green)
3. เนเธอร์แลนด์และเบลเยียม
ในปี 2509 งานวันคาร์ฟรีเดย์ ถูกพบครั้งแรกในประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม สมัยนั้นเกิดวิกฤตการณ์คลองสุเอซ (Suez Crisis) เป็นการขุดคลองเพื่อเชื่อมทวีปยุโรปและเอเชีย ซึ่งก็ส่งผลต่อการเดินทางของทั้ง 2 ประเทศนี้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2509 จนถึง มกราคม 2510 ประเทศเหล่านี้จึงถือเป็น Car Free Day ยุคแรกๆ ของโลก
จะปั่นจักรยานกันทั้งเมืองก็ได้นะ
4. ปารีส, ฝรั่งเศส
ประเทศฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศที่สั่งห้ามใช้รถส่วนตัวขับไปบนท้องถนน โดยย้อนไปในปี 2541 ได้จัดกิจกรรม Cities without cars หรือเมืองปลอดรถ ขึ้นมาโดยองค์กร Ecoplan ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีการจัดงานลักษณะแบบนี้ในปี 2535 และปี 2540 และตั้งแต่นั้นมาฝรั่งเศสก็ได้สั่งห้ามยานพาหนะส่วนตัวไม่ให้วิ่งบนถนน และยังคงทำให้ถนนเมืองปารีสปลอดรถยนต์จนถึงวันนี้ ซึ่งก็กลายเป็นต้นแบบให้กับประเทศ อื่นๆ ด้วย
5. วอชิงตันดีซี, สหรัฐอเมริกา
วันที่ 29 ก.ย. 2552 กรุงวอชิงตันดีซีได้จัดงานฉลองวันคาร์ฟรีเดย์ เมืองทั้งเมืองหันมาปั่นจักรยาน และยังมีบริการซ่อมจักรยานฟรีทั้งเมือง และยังมีกลุ่มชั้นเรียนโยคะให้การสนับสนุนทำที่อยู่อาศัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย
6. จาการ์ตา, อินโดนีเซีย
ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค. 2550 เป็นต้นมา กรุงจาการ์ตาได้ทำกิจกรรม คาร์ฟรีเดย์ เป็นประจำทุกเดือน โดยในช่วงที่จัดกิจกรรมนี้ ทั้งเมืองจะปิดถนนสายหลัก งดใช้รถยนต์ และเชิญชวนให้ทุกคนออกมาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น เล่นกีฬา และทำกิจกรรมสตรีตอื่นๆ บนท้องถนน
ใช้บริการรถไฟสาธารณะให้มากขึ้น
7. เกาสง, ไต้หวัน
วันที่ 22 ต.ค. 2550 ไต้หวันก็ได้ร่วมฉลองวันคาร์ฟรีเดย์ในเมืองเกาสง โดยสภาเทศบาลเมืองได้จัดงานอีเวนต์เพื่อสนับสนุนการใช้จักรยานและรถสาธารณะให้มากขึ้น ทดแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว รัฐบาลจัดงานนี้เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์เต็ม
8. ปักกิ่ง, จีน
แม้ว่าประเทศจีนยังไม่ได้ร่วมเฉลิมฉลองวันคาร์ฟรีเดย์โลกอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการกำหนดข้อจำกัดในการใช้รถในเมืองใหญ่ เช่น กรุงปักกิ่ง (ปักกิ่งประสบปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศอย่างหนัก) โดยรัฐมนตรีของจีนสั่งห้ามไม่ให้ใช้รถส่วนตัว และให้มาใช้รถสาธารณะเป็นเวลาสองสัปดาห์ ระหว่างเดือน ส.ค.-ก.ย. ทำให้ช่วงท้ายของสัปดาห์ ประชาชนในเมืองเริ่มสังเกตเห็นท้องฟ้าที่ชัดเจนมากกว่าเดิม และสามารถหายใจในอากาศที่บริสุทธิ์ได้อีกครั้ง
ที่มาข้อมูล : permalink, th.wikipedia, indiatoday
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved